การพัฒนารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1 เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้สูงอายุในศูนย 1 พัฒนาเด็กเล็ก 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้สูงอายุ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้สูงอายุ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้สูงอายุ ดำเนินการโดยศึกษาวิเคราะห์ 1 สภาพปัญหาและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยศึกษาวิเคราะห์ 1 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้สูงอายุ พบว่ารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ปฐมวัยของผู้สูงอายุ ได้ 4 ด้าน ได้แก่การอบรมเลี้ยงเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย มีลักษณะย่อย 10 รายการการอบรม เลี้ยงเด็กปฐมวัยด้านอารมณจิตใจ มีลักษณะย่อย 9 รายการการอบรมเลี้ยงเด็กปฐมวัยด้านสังคมมีลักษณะย่อย 11 รายการการอบรมเลี้ยงเด็กปฐมวัยด้านสติปัญญา มีลักษณะย่อย 9 รายการและการอบรมเลี้ยงเด็กปฐมวัยด้าน คุณธรรมจริยธรรม มีลักษณะย่อย 9 รายการนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแบบสัมภาษณ์ 1 ผู้สูงอายุ ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน ความสอดคล้องระหว่างหัวข้อการฝึกอบรมกับวัตถุประสงค์ 1 (IOC: Item Objective Congruence) ได้คำเฉลี่ย เทากับ 0.84 แล้วนำไปสัมภาษณ์ 1 ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 345 คน เพื่อหา ระดับปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูและความต้องการในการอบรม พบว่า ระดับการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ ด้านสติปัญญา ได้แก่ การใช้สื่อ นิทาน ของเล่นพื้นบ้านในการสั่งสอนเด็ก ( X =1.48) การเลานิทาน ท่องกลอนสั้น เพื่อความสนุกสนานและสอนเด็ก โดยให้เด็กดูนิทานประกอบ (X =1.41) และด้านคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่ การฝึกให้เด็กรู้จักทำของเล่นจากสิ่งของที่มีอยู่แล้ว (X =1.46) ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้สูงอายุ สร้างและพัฒนา รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้สูงอายุ ได้จำนวน 3 ชุด ได้แก่ การอบรมเลี้ยงเด็กปฐมวัยด้านสติปัญญา จำนวน 2 ชุด ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมกล่อมเด็กด้วยบทเพลง..โลกแห่งจินตนาการชุดกิจกรรมเลานิทาน… อ่านหนังสือ จินตนาการไม่รู้จบ การอบรมเลี้ยงเด็กปฐมวัยด้านคุณธรรม จริยธรรม 1 ชุด ประกอบด้วย ชุด กิจกรรมสื่อและของเล่นพื้นบ้าน…ไม่ยากอย่างที่คิด ผลการประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของรูปแบบ การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้สูงอายุจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ทั้ง 3 ชุด มีความเหมาะสมและความสอดคล้อง ใน ระดับมากที่สุด (X = 4.61) และมีคำเฉลี่ยตั้งแต่ 4.55 – 4.69 ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการอบรม นำรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูมาจัดอบรมให้กับผู้สูงอายุ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน หลังการอบรมได้ทำการประเมินการอบรม และติดตามผลการนำเอารูปแบบการอบรมไปใช้ พบว่า ผู้สูงอายุประเมินผลการฝึกอบรมโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยมีคำเฉลี่ยเทํากับ 4.65 สํวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 เมื่อแยกเป็นรายด๎านทุกด๎านมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุก ข๎อ ได๎แกํ ด๎านความรู๎ความเข๎าใจ ด๎านการจัดการฝึกอบรม และด๎านสถานที่ / เอกสาร / อาหาร ตามล าดับ และการติดตามผลการใช๎รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู๎สูงอายุ พบวํา ผู๎สูงอายุได๎มีการน าเอาวัสดุที่มีอยูํ ตามธรรมชาติ และวัสดุเหลือใช๎มาทำเป็นของเลํนให๎ลูกหลานเลํน และมีการนำเอานิทานและบทร๎องกลํอมเด็กมา ใช๎กับลูกหลานของตนเองมากขึ้น 

วิธีวิจัย

ศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย, ทำแบบสัมภาษณ์, พัฒนารูปแบบและยกร่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

ทัศนีย์ นาคุณทรงวารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ประสพสุข ฤทธิเดชวารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สุชาดา หวังสิทธิเดชวารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

บงกชรัตน์ ศุภเกสรวารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

วารินทร์ทิพย์ ศรีกุลาวารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ชื่อวารสาร

วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

ปี: 2014

ลิงก์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

แชร์โพสนี้ :

Facebook
Twitter
LinkedIn

โพสที่เกี่ยวข้อง :