รายงานนี้แสดงการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะใน 12 ด้าน ประกอบไปด้วย โภชนาการ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับวัคซีน พัฒนาการของเด็กปฐมวัย การดูแลและการเลี้ยงดู เด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ การเข้าเรียนในโรงเรียน การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ระเบียบวินัยสำหรับเด็ก การคลอดในวัยรุ่น การแต่งงานของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี การคุ้มครองทางสังคม รายงานนี้้ ได้ถูกออกแบบมาให้้มองลึึกลงไปผ่่านการใช้ข้อมููลตัวัเลขให้เป็นดั่งแว่นขยาย ในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การเผชิญกับภาวะวิกฤตและความท้าทายต่างๆ ในระดับโลก ดังนั้นจึงไม่เป็นการกล่าวเกินจริงถึงความสำคัญของข้อมูลที่มีครอบคลุมและน่าเชื่อถือ การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (Multiple Indicator Cluster Survey – MICS) โดยสำนักงานสถิติแก่งชาติและองค์การยูนิเชฟ นับเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ และได้ทำการสำรวจครัวเรือนถึง 34,000 ครัวเรือนในปี พ.ส. 2565 ถือเป็นการสำรวจสถานการณ์ของเด็กและสตรีในประเทศไทยที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งนอกขากจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เข้าใจโครงสร้างทางสังคมที่หลากหลายของไทย ผ่านการสำรวจประเด็กนที่สำคัญ อาทิ สาธารณสุข พัฒนาการของเด็ก การศึกษา และการคุ้มครองเด็ก และยังเป็นพิพม์เขียวสำหรับการใช้ข้อมูลหลักฐานเพื่อวางแผนกำหนดนโยบาย และการดำเนินนโยบายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่ยั่งยืนได้ เพื่อให้เห็นภาพของความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย
คำสำคัญ: ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ, เด็กไทย, การเข้าถึงการศึกษา, สาธารณสุข, การป้องกันเด็ก
ผู้แต่ง: ยูนิเซฟ ประเทศไทย
ปี: 2024
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในเด็กในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อปิดช่องความของความไม่เท่าเทียมนี้
จากรายงานของยูนิเชฟ Link for more information:https://uni.cf/3RSeMtj