ผู้แต่ง:
นันทชา สงวนกุลชัย
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลสามโคกจังหวัดปทุมธานี
จินตนา ยูนิพันธุ์
รองศาสตราจารย์คณะพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น 2) สภาพแวดล้อมในครอบครัวด้านสัมพันธภาพพฤติกรรมการเป็นพ่อแม่ภาวะซึมเศร้าของแม่และภาวะติดสุราของพ่อเด็กสมาธิสั้น 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในครอบครัวด้านสัมพันธภาพ พฤติกรรมการเป็นพ่อแม่ ภาวะซึมเศร้าของแม่ และภาวะติดสุราของพ่อ กับปัญหาพฤติกรรมในเด็กสมาธิสั้น กลุ่มตัวอย่าง คือพ่อและแม่ของเด็กสมาธิสั้นที่มีอายุ 6-12 ปีจ????ำนวน 154 ครอบครัวที่มารับบริการต่อเนื่องแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลของรัฐในเขตภาคกลางตอนบน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบประเมินสภาพแวดล้อมในครอบครัวด้านสัมพันธภาพ 2) แบบประเมินพฤติกรรมการเป็นพ่อแม่ฉบับบิดามารดา3) แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก 4) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และ 5) แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา เครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่านค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .86, .81, .81, .85,.90 ตามล????ำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงบรรยายและสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่มีปัญหาพฤติกรรมร้อยละ 69.5 โดยมีปัญหาพฤติกรรมด้านเกเรมากที่สุด รองลงมา คือ ปัญหาพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งปัญหาพฤติกรรมสัมพันธภาพทางสังคม และปัญหาพฤติกรรมทางอารมณ์ (ร้อยละ 80.50,75.3, 56.5, 24.7 และ 15.6 ตามลำดับ)
- สภาพแวดล้อมในครอบครัวด้านสัมพันธภาพของเด็กสมาธิสั้นอยู่ในระดับดีร้อยละ 79.2 พฤติกรรมการเป็นพ่อแม่โดยรวมอยู่ระดับปานกลางร้อยละ 86.4 ภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 8.4
- สภาพแวดล้อมในครอบครัวด้านสัมพันธภาพและพฤติกรรมการเป็นพ่อแม่มีความสัมพันธ์ทางลบกับปัญหาพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r=-.220 และ -.198) ปัจจัยภาวะซึมเศร้าของแม่และภาวะติดสุราของพ่อมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัญหาพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r=.394 และ .165)
วิธีวิจัย:
การวิจัยเชิงบรรยาย
วารสาร:
วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
ปี : 2016
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/95934