การพัฒนาแบบสังเกตพฤติกรรมการเล่นระหว่างผู้ปกครองและเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน (3-5 ปี)

บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบสังเกตพฤติกรรมการเล่นระหว่างผู้ปกครองและเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน (3-5ปี) ในบริบทของสังคมไทย ที่มีความสะดวกในการใช้งาน และสามารถนำไปใช้ในการสร้างเสริมพฤติกรรมการเล่นที่มีคุณภาพระหว่างผู้ปกครองและเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียนได้ ผู้วิจัยพัฒนาแบบสังเกตจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และแบบวัดมาตรฐานที่มีความเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแม่และเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน (อายุ 3-5 ปี) จำนวน 95 คู่ ผลการวิจัยพบว่าแบบสังเกตนี้มีค่าความสอดคล้องภายใน (KR20) เท่ากับ .81 ผลการประเมินร่วมโดยผู้ประเมินอิสระมีค่าสัมประสิทธิ์แคปปา (Cohen’s kappa coefficient) ของแต่ละข้ออยู่ในระดับดีถึงดีมาก (kappa = .83 ถึง 1.00) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่าแบบสังเกตนี้มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การแสดงพฤติกรรมและอารมณ์ทางบวกของผู้ปกครอง การแสดงพฤติกรรมและอารมณ์ทางบวกของเด็ก การมีส่วนร่วมในการเล่นการยอมรับซึ่งกันและกัน การส่งเสริมพัฒนาการทางปัญญา และ การส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม สามารถอธิบายความแปรปรวนของข้อกระทงในแบบสังเกตได้ร้อยละ 51.65 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรวมในแบบสังเกตนี้กับคะแนนจากข้อกระทงบางส่วนในแบบวัด ECHOME (Caldwell & Bradley, 1984) พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง (r = .71, p < .01) สนับสนุนความตรงจากความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้องตามทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ในการเล่นระหว่างผู้ปกครองและเด็ก

วิธีวิจัย
ผู้วิจัยพัฒนาแบบสังเกตจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และแบบวัดมาตรฐานที่มีความเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแม่และเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน (อายุ 3-5 ปี) จำนวน 95 คู่

ผู้แต่ง

ณัฏฐณี สุขปรีดี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา

เผยแพร่
คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย The Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR)

ปี: 2016

ลิงค์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

 

แชร์โพสนี้ :

Facebook
Twitter
LinkedIn

โพสที่เกี่ยวข้อง :