บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์
เพื่อประเมินประสิทธิผลการฝึกอบรมการเลี้ยงดูเด็กกับปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมในเด็กไทยที่มีภาวะสมาธิสั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 4 เปรียบเทียบกับการดูแลทางคลินิกตามปกติในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในภาคใต้ของประเทศไทย
ผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูเด็กได้รับเชิญมาเข้าร่วมและประเมินคุณสมบัติเพื่อเข้าร่วมในงานวิจัย และเด็กจำนวน 80 คนที่มีภาวะสมาธิสั้น ได้รับการเลือกแบบสุ่มเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเข้าร่วมการอบรมการเลี้ยงดูเด็ก อีกกลุ่มได้รับการดูแลทางคลินิกตามปกติ กลุ่มของผู้ดูแลหลักของเด็กที่ได้อบรมเรื่องการเลี้ยงดู เข้าร่วม 6 ครั้ง เป็นเวลา 120 นาที ต่อสัปดาห์นอกเหนือจากการดูแลทางคลินิกตามปกติ มีการให้คะแนนโดยผู้ดูแลเด็กและครูทั้งสองกลุ่มในเรื่อง ADHD และโรคดื้อต่อต้าน คะแนนรวบรวม ณ เวลาที่ลงทะเบียน และหลังการอบรม 6 สัปดาห์ ความแตกต่างของคะแนนทั้งสองกลุ่ม วิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบผสม
ผลการวิจัย
แต่ละกลุ่มมีผู้เข้าร่วม 40 คน อายุเฉลี่ย (SD) ของเด็กคือ 8.3 (1.1) ปี และอายุเฉลี่ย (SD) เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นครั้งแรก คือ 6.8 (1.3) ปี ส่วนใหญ่ได้รับยา methylphenidate เพื่อรักษาโรคสมาธิสั้น มารดาเป็นผู้ดูแลหลักของเด็ก คิดเป็น 83.5% อาการ ADHD และโรคดื้อต่อต้านดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากได้รับการรักษาในทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ดี ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสองกลุ่ม
สรุป
การอบรมเรื่องการเลี้ยงดูเด็กที่เพิ่มจากการดูแลทางคลินิกตามปกติ ในเด็กที่มีสมาธิสั้นไม่ซับซ้อนซึ่งได้รับการรักษาด้วยยานั้น พบว่า ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากไปกว่าการดูแลทางคลินิกตามปกติเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยนี้มีขีดจำกัด และจำเป็นต้องมีการติดตามผลเพื่อประเมินประสิทธิภาพในระยะยาว
วิธีวิจัย: RCT
ผู้แต่ง: Nichanan Tiwawatpakorn, Juthamas Worachotekamjorn, and Nattaporn Tassanakijpanich
ชื่อวารสาร: SAGE Journals
ปี: 2021