Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนำเสนอมุมมองการเลี้ยงดูเด็กของปู่ย่าตายายในครอบครัวข้ามรุ่น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดต่อเด็กและปู่ย่าตายาย ครอบครัวข้ามรุ่นหมายถึง ครอบครัวที่มีปู่ย่าหรือตายายอาศัยอยู่กับคนรุ่นหลานตามลำพัง ประเทศไทยมีแนวโน้มของจำนวนครอบครัวข้ามรุ่นเพิ่มขึ้น ผลการทบทวนวรรณกรรมพบว่า การเลี้ยงดูเด็กของปู่ย่าตายายในครอบครัวข้ามรุ่นเป็นการเกื้อกูลเพื่อให้ครอบครัวสามารถทำหน้าที่พัฒนาให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในสังคมซึ่งครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ตลอดจนด้านอื่นที่จำเป็น ผลกระทบได้แก่ ปู่ย่าตายายมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีความสุขที่ได้ดูแลหลาน การเกื้อหนุนของหลานที่มีต่อปู่ย่าตายายคือ เมื่อหลานโตขึ้นสามารถช่วยเหลือทั้งตัวเองและปู่ย่าตายายได้ตามวัยทั้งด้านร่างกายในภาวะสุขภาพดีหรือเจ็บป่วย รวมทั้งด้านจิตใจคือทำให้ปู่ย่าตายายเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ ช่วยคลายความเหงา มีความรู้สึกผูกพันกับหลาน ในขณะเดียวกันพบข้อจำกัดของการเลี้ยงดูเด็กของปู่ย่าตายายคือ การขาดการรู้เท่าทันยุคของการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูแลกิจวัตรประจำวันของเด็กและเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว รวมทั้งความชราภาพและการเจ็บป่วย ทำให้ปู่ย่าตายายใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมในการเลี้ยงดูเด็ก ปู่ย่าตายายที่อ่านหนังสือไม่ออกและมีการศึกษาน้อยไม่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆมากขึ้น ซึ่งอาจมีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
Methods
การทบทวนวรรณกรรม
Author
กุสุมาลี โพธิปัสสา, ทรงสุดา หมื่นไธสง, ดาราพร รักหน้าที่, จิระพรรณ สุปัญญา, มัลลิกา มากรัตน์
Journal
วารสารโรงพยาบาลสกลนคร
ปี: 2020
(Click here) Click here for more information